welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 30 สอนวิทยาศาสตร์วัยเด็กอนุบาล เริ่มอย่างไรดี


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 30

           ..............................................................


สรุปบทความ


ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ครั้งที่ 29 ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสจร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 29
           ............................................................

สรุปบทความ
   
  
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ประกอบไปด้วยทักษะต่างๆดังนี้

1. ทักษะการสังเกต

หลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างระมัดระวัง

ทักษะการสังเกตประกอบไปด้วย ดังนี้

1. การสังเกตโดยใช้ตา

2. การสังเกตโดยใช้หู

3. การสังเกตโดยใช้จมูก

4. การสังเกตโดยใช้ลิ้น

5. การสังเกตโดยใช้สัมผัสทางผิวหนัง

2. ทักษะการจำแนกประเภท

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภทการแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัตถุประสงค์
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

กิจกรรม
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
2. เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย ๆ กิจกรรม


3. ทักษะการวัด
มีความสำคัญดังนี้
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น

4. ทักษะการสื่อความหมาย
 มีลักษณะ ดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น


5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
 มีลักษณะดังนี้
1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่าง
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น
2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม เช่น เห็นต้นกุหลาบเหี่ยว ใบเป็นรูพรุน ก็บอกว่าเพราะหนอนกิน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าคืออะไร


6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืนอยู่
3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใดไว้ เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา


7. ทักษะการคำนวณ การคำนวณ
 หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593

ครั้งที่ 28 เรียนรู้วิทยาศาตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 28
             .......................................................

สรุปบทความ

  พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการ
ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

http://www.newswit.com/gen/2011-06-09/3087c1c8b89d6f112c3455e13bf5384a

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 27 วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 27 
                       ......................................................

สรุปบทความ
วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก !!!!!!

- กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล พิสูจน์ได้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอย ๆ เด็กที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงมีระบบความคิดเชิงตรรกะ
-พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ ดังนั้นการท่องจำจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ หากเป็นการคิดหาเหตุผล และพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำนั้นเป็นความจริงหรือไม่ต่างหาก 
-จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าวิทยาศาสตร์กับจินตนาการเป็นคนละเรื่องกัน แต่อย่าลืมว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการตั้งสมมุติฐาน
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ
1. การฝึกทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์
2. การเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้น
การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ 
1) การสังเกต 
2) การจำแนก เปรียบเทียบ 
3) การวัด 
4) การสื่อสาร 
5) การทดลอง 
6) การสรุปและนำไปใช้ 
สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยค้นคว้า การสืบเสาะ และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย

ครั้งที่ 26 บ้านนักวิทยาศาจร์น้อย ตอน : ความลับของใบบัว


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 26
                   ....................................................

ตอน : ความลับของใบบัว

อุปกรณ์การทดลอง ดังนี้
1. ใบบัว
2. น้ำ
3. น้ำผึ้ง
4. นม
5. ใบตอง

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้
1. หยดน้ำลงบนใบบัว สังเกตการทดลอง
2. เปลี่ยนจากน้ำเป็นน้ำผึ้งและหยดลงใบบัวเช่นเดิม สังเกตการทดลอง
3. เปลี่ยนจากน้ำผึ้งเป็นนมและหยดลงใบบัวเช่นเดิม สังเกตการทดลอง
4.จากนั้นทำทุกอย่างเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นใบตองแทน สังเกตการทดลอง


Concept
 เพราะพื้นผิวของใบบัวมีคุณสมบัติพิเศษ ทำให้น้ำหรือของเหลว ไม่สามารถเกาะที่ใบได้ โครงสร้างขนาดเล็กของใบบัวมีความขรุขระ มีปุ่มขนาดเล็กๆ จำนวนมาก แถมยังปกคลุมสารที่มีความมัน จึงทำใหใบบัวมีคุณสมบัตืที่ไม่มีการเปียกน้ำ 

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 25 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน : ปาฎิหาริย์เทียนลอยน้ำ


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 25
              ................................................................

ตอน : ปาฎิหาริย์เทียนลอยน้ำ

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้
1. เทียน
2. ไม้ขีด
3. น้ำ
4. แก้วน้ำ
5. จาน

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้

1. นำเทียนวางลงบนจาน
2. ใช้ไม้ขึดจุดไฟลงบนเทียน
3. นำแก้วมาครอบเทียน เทียนจะดับ
4. ทำการทดลองเช่นเดิมแต่เทน้ำแดงลงไป และจุดไฟลงบนเทียน
5. นำแก้วครอบจะพบว่า เทียนไม่ดับ

Concept

   ไฟได้เผาออกซิเจนอากาศในแก้วให้หมดลงไป ไฟก็เลยดับ เมื่ออากาศในแก้วน้อยแรงดันอากาศในแก้วก็จะลดลง ซึ่งอากาศนอกแก้วมีแรงดันมากกว่า ก็เลยดันน้ำที่อยู่นอกแก้ว เข้าไปอยู่ในแก้วนั้นเองเทียนก็เลยลอยได้

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

   เมื่อเราต้องการดับไฟ ขณะเกิดเพลิงไหม้ นักดับเพลิงจะใช้วิธีการหนึ่งคือการลดปริมาณออกซิเจนในที่เกิดเหตุโดยการฉีดน้ำหรือสารเคมี เช่นไนโครเจน หรือคาร์บอนไดร์ออกไซต์ เมื่อไฟไม่มีออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ไฟก็จะดับลงในที่สุด



ครั้งที่ 24 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน ลูกโป่งร้องเพลง


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น . ครั้งที่ 24
                  ......................................................

ตอน : ลูกโป่งร้องเพลง

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้

ลูกโป่ง

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้

1. เป่าลูกโป่ง
2. ค่อยบีบลูกโป่ง

Concept
  เมื่ออากาศในลูกโป่งไหลผ่านช่องแคบๆอย่างปากลูกโป่งจะทำมห้เกิดการสั่นสะเทือนทางปากลูกโป่งทั้งด้านล่างและด้านบน เมื่อดึงปากลูกโป่งใหแคบลงการสั่นสะเทือนจะเร็วขึ้นจะทำให้เกิดเสียงสูง แต่เมื่อปล่อยให้ปากลูกโป่งหย่อนลงช่องในปากลูกโป่งจะกว้างขึ้นอากาศที่ไหลผ่านจะทำให้สั่นช้าลงทำให้เกิดเสียงต่ำนั้นเอง

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
  ในโลกของดนตรี มีเครื่องดนตรีหลายชนิดที่อาศัยหลักของลม เช่น ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น เมื่อมีอากาศหรือลมจากปากนักดนตรีไหลผ่าน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนได้ยินเป็นเสียงดนตรี ส่วนเสียงสูง เสียงต่ำที่แตกต่างกัน เกิดจากการควบคุมปริมาณลมในการเป่า รวมทั้งรูปร่างและกลไกของเครื่องดนตรีด้วย