welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 30 สอนวิทยาศาสตร์วัยเด็กอนุบาล เริ่มอย่างไรดี


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 30

           ..............................................................


สรุปบทความ


ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ครั้งที่ 29 ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสจร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 29
           ............................................................

สรุปบทความ
   
  
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ประกอบไปด้วยทักษะต่างๆดังนี้

1. ทักษะการสังเกต

หลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างระมัดระวัง

ทักษะการสังเกตประกอบไปด้วย ดังนี้

1. การสังเกตโดยใช้ตา

2. การสังเกตโดยใช้หู

3. การสังเกตโดยใช้จมูก

4. การสังเกตโดยใช้ลิ้น

5. การสังเกตโดยใช้สัมผัสทางผิวหนัง

2. ทักษะการจำแนกประเภท

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภทการแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัตถุประสงค์
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

กิจกรรม
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
2. เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย ๆ กิจกรรม


3. ทักษะการวัด
มีความสำคัญดังนี้
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น

4. ทักษะการสื่อความหมาย
 มีลักษณะ ดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น


5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
 มีลักษณะดังนี้
1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่าง
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น
2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม เช่น เห็นต้นกุหลาบเหี่ยว ใบเป็นรูพรุน ก็บอกว่าเพราะหนอนกิน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าคืออะไร


6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืนอยู่
3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใดไว้ เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา


7. ทักษะการคำนวณ การคำนวณ
 หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593

ครั้งที่ 28 เรียนรู้วิทยาศาตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 28
             .......................................................

สรุปบทความ

  พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการ
ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

http://www.newswit.com/gen/2011-06-09/3087c1c8b89d6f112c3455e13bf5384a

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 27 วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 27 
                       ......................................................

สรุปบทความ
วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก !!!!!!

- กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล พิสูจน์ได้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอย ๆ เด็กที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงมีระบบความคิดเชิงตรรกะ
-พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ ดังนั้นการท่องจำจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ หากเป็นการคิดหาเหตุผล และพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำนั้นเป็นความจริงหรือไม่ต่างหาก 
-จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าวิทยาศาสตร์กับจินตนาการเป็นคนละเรื่องกัน แต่อย่าลืมว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการตั้งสมมุติฐาน
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ
1. การฝึกทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์
2. การเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้น
การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ 
1) การสังเกต 
2) การจำแนก เปรียบเทียบ 
3) การวัด 
4) การสื่อสาร 
5) การทดลอง 
6) การสรุปและนำไปใช้ 
สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยค้นคว้า การสืบเสาะ และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย

ครั้งที่ 26 บ้านนักวิทยาศาจร์น้อย ตอน : ความลับของใบบัว


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 26
                   ....................................................

ตอน : ความลับของใบบัว

อุปกรณ์การทดลอง ดังนี้
1. ใบบัว
2. น้ำ
3. น้ำผึ้ง
4. นม
5. ใบตอง

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้
1. หยดน้ำลงบนใบบัว สังเกตการทดลอง
2. เปลี่ยนจากน้ำเป็นน้ำผึ้งและหยดลงใบบัวเช่นเดิม สังเกตการทดลอง
3. เปลี่ยนจากน้ำผึ้งเป็นนมและหยดลงใบบัวเช่นเดิม สังเกตการทดลอง
4.จากนั้นทำทุกอย่างเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นใบตองแทน สังเกตการทดลอง


Concept
 เพราะพื้นผิวของใบบัวมีคุณสมบัติพิเศษ ทำให้น้ำหรือของเหลว ไม่สามารถเกาะที่ใบได้ โครงสร้างขนาดเล็กของใบบัวมีความขรุขระ มีปุ่มขนาดเล็กๆ จำนวนมาก แถมยังปกคลุมสารที่มีความมัน จึงทำใหใบบัวมีคุณสมบัตืที่ไม่มีการเปียกน้ำ 

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 25 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน : ปาฎิหาริย์เทียนลอยน้ำ


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น. ครั้งที่ 25
              ................................................................

ตอน : ปาฎิหาริย์เทียนลอยน้ำ

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้
1. เทียน
2. ไม้ขีด
3. น้ำ
4. แก้วน้ำ
5. จาน

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้

1. นำเทียนวางลงบนจาน
2. ใช้ไม้ขึดจุดไฟลงบนเทียน
3. นำแก้วมาครอบเทียน เทียนจะดับ
4. ทำการทดลองเช่นเดิมแต่เทน้ำแดงลงไป และจุดไฟลงบนเทียน
5. นำแก้วครอบจะพบว่า เทียนไม่ดับ

Concept

   ไฟได้เผาออกซิเจนอากาศในแก้วให้หมดลงไป ไฟก็เลยดับ เมื่ออากาศในแก้วน้อยแรงดันอากาศในแก้วก็จะลดลง ซึ่งอากาศนอกแก้วมีแรงดันมากกว่า ก็เลยดันน้ำที่อยู่นอกแก้ว เข้าไปอยู่ในแก้วนั้นเองเทียนก็เลยลอยได้

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

   เมื่อเราต้องการดับไฟ ขณะเกิดเพลิงไหม้ นักดับเพลิงจะใช้วิธีการหนึ่งคือการลดปริมาณออกซิเจนในที่เกิดเหตุโดยการฉีดน้ำหรือสารเคมี เช่นไนโครเจน หรือคาร์บอนไดร์ออกไซต์ เมื่อไฟไม่มีออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ไฟก็จะดับลงในที่สุด



ครั้งที่ 24 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน ลูกโป่งร้องเพลง


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 -12.20 น . ครั้งที่ 24
                  ......................................................

ตอน : ลูกโป่งร้องเพลง

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้

ลูกโป่ง

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้

1. เป่าลูกโป่ง
2. ค่อยบีบลูกโป่ง

Concept
  เมื่ออากาศในลูกโป่งไหลผ่านช่องแคบๆอย่างปากลูกโป่งจะทำมห้เกิดการสั่นสะเทือนทางปากลูกโป่งทั้งด้านล่างและด้านบน เมื่อดึงปากลูกโป่งใหแคบลงการสั่นสะเทือนจะเร็วขึ้นจะทำให้เกิดเสียงสูง แต่เมื่อปล่อยให้ปากลูกโป่งหย่อนลงช่องในปากลูกโป่งจะกว้างขึ้นอากาศที่ไหลผ่านจะทำให้สั่นช้าลงทำให้เกิดเสียงต่ำนั้นเอง

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
  ในโลกของดนตรี มีเครื่องดนตรีหลายชนิดที่อาศัยหลักของลม เช่น ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น เมื่อมีอากาศหรือลมจากปากนักดนตรีไหลผ่าน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนได้ยินเป็นเสียงดนตรี ส่วนเสียงสูง เสียงต่ำที่แตกต่างกัน เกิดจากการควบคุมปริมาณลมในการเป่า รวมทั้งรูปร่างและกลไกของเครื่องดนตรีด้วย




ครั้งที่ 23 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน : จมหรือลอย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 23
       ......................................................................

ตอน : จมหรือลอย

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้
1. ตู้ปลาใส่น้ำ
2. ลูกปิงปอง
3. ก้อนหิน
4. ลูกกอล์ฟ
5. ไม้บล๊อก
6. 

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้
 นำอุปกรณ์ทุกอย่างพลัดกันใส่ลงไปในตู้ปลาและสังเกตการทดลอง



Concept
  การที่สิ่งของต่างๆจมหรือลอยได้นั้น ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของชนิดของนั้นๆ ถ้าสิ่งของมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ สิ่งของก็จะจม แต่ถ้าชนิดสิ่งของมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ สิ่งของก็จะลอยได้นั้นเอง

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
  เราสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของในชีวิตประจำวันได้ เช่น ทุ่นที่ทำให้แพลอยได้ หรือทุ่นในทะเล ที่ใช้บอกตำแหน่งของน้ำลึก ทุ่นพวกนั้นจะใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้



ครั้งที่ 22 บ้านนักวิทยาศาตร์น้อย ตอน : ซุปหางมังกร


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น.  ครั้งที่ 22
                 .......................................................

ตอน : ซุปหางมังกร

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้
1. ข้าวโพด
2. เมล็ดพริกไทย
3. กรวด
4. น้ำเปล่า
5. น้ำมัน
6. น้ำแดง
7. แก้ว
8. ขวดโหล

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้
1. นำเมล็ดข้าวโพดใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำอยู่ สังเกตการทดลอง
2. นำเมล็ดพริกไทยใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำอยู่ สังเกตการทดลอง
3. นำกรวดใส่ลงไปในแก้วที่มีน้ำอยู่ สังเกตการทดลอง
4. นำขวดโหลที่มีน้ำเปล่าอยู่มาตั้งบนโต๊ะ จากนั้นเทนำมันลงไปในขวดโหลและเชย่า สังเกตการทดลอง
5. จากนั้นเปลี่ยนจากขวดโหลน้ำเปล่าเป็นขวดโหลน้ำแดง แล้วเทน้ำมันลงไปและเขย่า สังเกตการทดลอง




Concept
  วัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำอย่างก้อนกรวด เมล็ดข้าวโพด เมล็ดพริกไทย จะจมน้ำ แต่น้ำมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำจึงลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ แม้เราจะเขย่าขวดจนน้ำมันแตกตัวเป็นฟองอากาศเล็กๆแต่เมื่อทิ้งไว้สักครู่ น้ำมันก็จะจับตัวกันอยู่บนผิวน้ำเหมือนเดิม 

สิ่งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
  สังเกตได้ง่ายๆจาก น้ำของแกงจืด แกงเผ็ด ที่รับประทานเป็นประจำ เราจะเห็นส่วนที่เป็นน้ำมันจะลอยตัวอยู่เสมอๆๆ ไงละคะ


ครั้งที่ 21 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 21
....................................................
ตอน : ไม่มีสวิตซ์ไฟจะปิดอย่างไรดี

อุปกรณ์การทดลอง มีดังนี้
1. ฐานหลอดไฟและหลอดไฟดวงเล็ก
2. ถ่านไฟฉายชนิดแบน
3. สายไฟชนิดที่มีตัวหนีบปากจระเข้

ขั้นตอนการทดลอง มีดังนี้
1. นำสายไฟเสียบเข้ากับฐานหลอดไฟและนำปลายที่มีตัวหนีบมาหนีบเข้ากับขั้วถ่านไฟฉาย
2. และจบพบว่ามีดวงไฟที่ติดทันที
3. หนีบปากจระเข้เข้ากับขั้วหลอดไฟฉายและเชื่อมสายไฟโดยการหนีบปากจระเข้ไว้ที่หมุดเหล็ก

Concept
 ที่โคมไฟจิ๋วติดและดับได้ก็เพราะว่า เกิดจากการเปิดสวิตซ์นั้นเอง เพราะกระแสไฟสามารถไหลผ่านจากถ่านไฟฉายไปตามสายไฟและเช้าสู่หลอดไฟได้ แต่เมื่อปิดสวิตซ์วงจรไฟฟ้าก็ถูกตัดขาดกระแสไฟจึงไม่สามารถเดินทางไปสู่หลอดไฟได้




วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 20 สรุปวิจัย เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


วิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 20
                                                ..........................................................

 วิจัยเรื่อง
 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
 สรุปได้ตังต่อไปนี้

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์โดยจําแนกรายด้าน ดังนี้การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ 
การประเมินค่า
 2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์

ความสําคัญของการวิจัย
เป็นแนวทางสําหรับครูในการนํากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้สําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ

พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ
ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือเด็กปฐมวัย ชาย – หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี
จํานวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
กําลังศึกษาอยูในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรีจ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี

สรุปผลการวิจัย
จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้าน
สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไป
ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ
ของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
       การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้
สํารวจวัสดุอุปกรณ์จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของ
วัสดุอุปกรณ์ตาม
ลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลองรูปแบบกิจกรรม
เนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็ก
 เป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาส
ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เด็กมีโอกาสได้ฟังสังเกต คิด 
แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน ในการจัดกิจกรรม
แต่ละครั้งเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสํารวจเล่น สังเกต 
สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทําการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้น และคิดหาเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งได้จากการสังเกตและ
ประสบการณ์เดิมของเด็กเอง แล้วเด็กร่วมกันสรุปผลการทดลองที่เกิดขึ้น เด็กช่วยกันคิดและ
หาข้อสรุปที่ได้จากการสังเกตผลการทดลองอย่างมีเหตุมีผลตามความเข้าใจของตน ทําให้เกิดการ
พัฒนา
ทางสติปัญญาหรือความคิด โดยครูจะใช้คําถามเชื่อมโยงจากกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด
รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทํากิจกรรม ให้เกิดการวิเคราะห์การใชเหตุผล การสังเคราะห์และการ
ประเมินค่าตัวกิจกรรมนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยให้เด็กสังเกต รับรู้ทําให้เด็กมีโอกาสฝึกคิด
เกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้กระทําลงไป การฝึกให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เผชิญกับ
สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 
สามารถพัฒนาให้เด็ก
คิดระดับสูงได้และในการคิดจะต้องให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง

ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
 1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดสนใจและ
ตื่นเต้นในขณะที่ทําการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทําให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คําถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้
คิดหาคําตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
 2. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัสสังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
อย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้ใน
กิจกรรมวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 19

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 19  วันจันทร์ที่ 30 กันยายน  2556
..............................................................
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่องมุมวิทยาศาสตร์และของเล่นส่ง โดยที่ดิฉันได้นำเสนอสื่อคือ กลองหรรษา

อุปกรณ์
1. ถัง
2. กระดาษแก้ว
3. สีกระดาษสีต่างๆสำหรับตกแต่ง
4. หนังยาง
5. กาวสำหรับติดกระดาษตกแต่ง

วิธีการทำ
1. ตัดกระดาษแก้ววางบนฝาถัง
2. ใช้หนังยางรัดและขึงจนกว่ากระดาษแก้วจะตึง
3. ตกแต่งรอบๆถุงให้สวยงาม

ความคิดรวบยอด
 สาเหตุที่ทำให้กลองเราดังนั้น ก็เพราะว่า เมื่อเรานำไม้กลองมาตีลงบนกระดาษแก้ว กระดาษแก้วจะสั่น และทำให้อากาศภายในนั้นสั่นกระทบถูกกะดาษแก้ว จึงทำให้เกิดดังขึ้นมานั้นเอง



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่18

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 18  วันจันทร์ที่ 23 กันยายน  2556
..............................................................
ตัวแทนกลุ่มต้มจืดออกมาสาธิตการสอนทำต้มจืดสำหรับเด็กปฐมวัย

อุปกรณ์
1. กระทะ
2. กระบวย
3. หมูสับ
4. ผักต่างๆ
5. เครื่องปรุงรส

วิธีการทำ
1. ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นใส่เครื่องปรุงรสลงไปกระทะ
2. ใส่หมูสับ
3. ใส่ผักต่างๆ
4. ปิดฝาหมอรอจนสุก พร้อมรับประทาน

ประโยชน์ของกิจกรรม
1. ฝึกการทำงานเป็นทีม
2. ฝึกทักษะการสังเกต
3. ฝึกการใข้ประสาทสัมผัสทั้ง 5




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 17  วันจันทร์ที่ 16 กันยายน  2556
..............................................................
อาจารย์ให้จับกลุ่มเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทำอาหาร  พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 16  วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน  2556
..............................................................
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่องมุมวิทยาศาสตร์ รวมทั้งส่งงานที่ค้างให้เรียบร้อย


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 15  วันจันทร์ที่ 9 กันยายน  2556
..............................................................
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่องมุมวิทยาศาสตร์และของเล่น ให้เรียบร้อยทั้งทั้งสรุปการจัดมุมประสบการณ์  การประดิษฐ์สื่อมุมให้เด็กเล่นเพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคตได้



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 14  วันจันทร์ที่ 2 กันยายน  2556
..............................................................
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่องมุมวิทยาศาสตร์และของเล่น ให้เรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 13  วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม  2556
..............................................................
ไม่มีการเรียนการสอน  มอบหมายให้นักศึกษาทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 12  วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม  2556
..............................................................
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองของแต่ละกลุ่มหน้าฉันเรียนและได้ฝึกการสอนเด็กตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

กลุ่มดิฉันทดลองเป่าฟองสบู่


อุปกรณ์การทดลอง
1. น้ำ
2. กล่องใส
3. หลอด
4. สบู่

วิธีการจัดกิจกรรม
1. ครูถามคำถามเด็ก ดังนี้
-  เด็กๆเห็นอะไรมาที่ตรงหน้าโต๊ะคุณครู
-  เด็กๆคิดว่าเราจะนำมาทำอะไรได้บ้าง
2. ครูแนะนำอุปกรณ์
3. ครูและเด็กร่วมสร้างข้อตกลงร่วมกัน
4. ครูและเด็กร่วมกันทำการทดลองดังนี้
-ครูขออาสาเด็กมาเทน้ำใส่กล่องใสและครูถามเด็กว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้างและจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
-ครูขออาสาสมัครเด็กนำก้อนสบู่ลงไปในกล่องใบใสและครูถามเด็กว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้างและจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
-ครูขออาสาสมัครเด็ก มาผสมน้ำกับสบู่และครูถามเด็กว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้างและจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
-ครูขออาสาสมัครเด็กนำหลอดมาเป่าฟองสบู่และครูถามเด็กว่า เด็กๆเห็นเป็นรูปอะไร
-ครูให้เด็กคนอื่นลองออกมาเป่าสบู่จนครบ
5. ครูและเด็กสรุปกิจกรรมร่วมกัน

ความคิดรวบยอด
    อากาศที่เราเป่าออกมาจากตัวเรานั้นเป็นอากาศที่มีความร้อน ดังนั้นจึงทำให้ฟองสบู่เบา ลอยตัวดันสูงขึ้นๆ และเมื่ออากาศจากตัวเราในฟองสบู่ค่อยๆหมด ฟองสบู่ก็จะเริ่มยุบและห่อตัวลงมาจนกลายเป็นของเหลวดังเช่นเดิม


วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 11  วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม  2556
..............................................................

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อของเล่นให้เรียบร้อย  ดิฉันนำเสนอสื่อของเล่นกลอง จากการเข้าเรียนทำให้เห็นสื่อและข้อเสนอแนะในการทำสื่อที่ถูกต้อง  เหมาะสมสำหรับเด็ก

ชื่อของเล่น กลองวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
1. ถัง
2. กระดาษแก้ว
3. สีกระดาษสีต่างๆสำหรับตกแต่ง
4. หนังยาง
5. กาวสำหรับติดกระดาษตกแต่ง

วิธีการทำ
1. ตัดกระดาษแก้ววางบนฝาถัง
2. ใช้หนังยางรัดและขึงจนกว่ากระดาษแก้วจะตึง
3. ตกแต่งรอบๆถุงให้สวยงาม

ความคิดรวบยอด
 สาเหตุที่ทำให้กลองเราดังนั้น ก็เพราะว่า เมื่อเรานำไม้กลองมาตีลงบนกระดาษแก้ว กระดาษแก้วจะสั่น และทำให้อากาศภายในนั้นสั่นกระทบถูกกะดาษแก้ว จึงทำให้เกิดดังขึ้นมานั้นเอง


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 10  วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม  2556
..............................................................
**หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอน 
 เนื่องจาก   หยุดวันแม่

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 9 วันจันทร์ที่ 5  สิงหาคม   2556
..............................................................
**หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอน 
 เนื่องจาก   สอบกลางภาค 

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 8 วันจันทร์ที่ 29  กรกฎาคม  2556
..............................................................
**หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอน 
 เนื่องจาก   สอบกลางภาค  อาจารย์จึงให้อ่านหนังสือสอบ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 7 (อบรม)

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 7 วันอาทิตย์ที่ 28  กรกฎาคม  2556
..............................................................
อบรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย



วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 6 วันจันทร์ที่ 22  กรกฎาคม  2556
..............................................................
**หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอน 
 เนื่องจาก    เป็นวันอาสาฬหบูชา


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 15  กรกฎาคม  2556
..............................................................

          นำเสนอสื่อของเล่นที่ได้ทำมาหน้าชั้นเรียนและอาจารย์ ให้ดูVDO
1. เรื่อง ISCI ความฉลาดแบบยกกำลังสอง : ลูกโปร่งรับน้ำหนัก
2. รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ : เมล็ดจะงอกไหม
           สิ่งที่ได้รับ
           นำความรู้ในจากตัวอย่างสื่อไปปรับใช้ในการทำสื่อชิ้นต่อไป


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2556
..............................................................
           อาจารย์ให้วาดภาพต่อเนื่องบนกระดาษและให้ดูวีดีโอเรื่องความลับของแสง
           การบ้าน
           ให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นคนละ  1  อย่าง
           สิ่งที่ได้รับ
           ได้เรียนรู้หลักการการทำภาพต่อเนื่อง  เพื่อนำไปใช้ในการทำสื่อที่ใช้หลักการนี้ได้


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม  2556
..............................................................
อาจารย์ ให้ดู VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก ชุด ความลับของแสง


วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556
..............................................................
          อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำงานเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
          สิิ่่งที่ได้รับ
           ได้ฝึกการทำงานเป็นทีมและได้เข้าใจความสำคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           เพิ่มเติม
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)

หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว

หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร

ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น

ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน

ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้ (Brewer, 1995 : 288 - 290)

การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน

การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้

การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้

การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ

การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง ต่างกัน

การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
เวลาเรียน 08.30 -12.20 น.

ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556
..............................................................
          อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสร้างข้อตกลงในการเรียนและอาจารย์อธิบายสิ่งต้องเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
          สิ่งที่ได้รับ
          เข้าใจสิ่งที่ต้องทำระหว่างรายวิชานี้  เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดผลสำเร็จในการเรียน