welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 29 ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสจร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30 - 12.20 น. ครั้งที่ 29
           ............................................................

สรุปบทความ
   
  
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ประกอบไปด้วยทักษะต่างๆดังนี้

1. ทักษะการสังเกต

หลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างระมัดระวัง

ทักษะการสังเกตประกอบไปด้วย ดังนี้

1. การสังเกตโดยใช้ตา

2. การสังเกตโดยใช้หู

3. การสังเกตโดยใช้จมูก

4. การสังเกตโดยใช้ลิ้น

5. การสังเกตโดยใช้สัมผัสทางผิวหนัง

2. ทักษะการจำแนกประเภท

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภทการแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัตถุประสงค์
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

กิจกรรม
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
2. เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย ๆ กิจกรรม


3. ทักษะการวัด
มีความสำคัญดังนี้
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น

4. ทักษะการสื่อความหมาย
 มีลักษณะ ดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น


5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
 มีลักษณะดังนี้
1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่าง
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น
2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม เช่น เห็นต้นกุหลาบเหี่ยว ใบเป็นรูพรุน ก็บอกว่าเพราะหนอนกิน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าคืออะไร


6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืนอยู่
3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใดไว้ เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา


7. ทักษะการคำนวณ การคำนวณ
 หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น